กรดโฟลิก 800 mcg เสริมอาหาร
ผู้หญิง ที่กินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วยกรดโฟลิกเพียงพออาจลดความเสี่ยง ของพวกเขาในการมีบุตรที่มีข้อบกพร่องที่เกิดจากสมองหรือไขสันหลัง ปริมาณกรด โฟลิกไม่ควรเกิน 250% ของค่ารายวัน (1000 mcg)
- กรดโฟลิคช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า Spina Bifida
- ช่วงเวลาที่เหมาะจะรับประทานคือช่วง 2-3 เดือนก่อนคลอด และระหว่างระยะที่ 1 ของการตั้งครรภ์ (12 สัปดาห์แรก)
ขนาด (Size) |
จำนวน (pieces) |
วันหมดอายุ (Expire Date) |
ขวดกลาง(Medium) |
100 เม็ด |
06/2014 |
- โฟลิก...ต้องเริ่มก่อนตั้งครรภ์ (รักลูก)
- โดย: ผศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล
กรดโฟลิก หรือ โฟเลต วิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ละลายในน้ำ
ใน ทางวิชาการพบว่า หญิงวัยเจริญพันธุ์เหมาะสมที่สุดที่จะเริ่มกินโฟลิก ก็เพื่อเป็นการเตรียมการล่วงหน้าที่จะเสริมสร้างและป้องกันไม่ให้ลูกที่เกิด มาเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายค่ะ
กรดโฟลิกหรืออีกชื่อหนึ่งที่ ใช้เรียกกันทั่วไปว่า "โฟเลต" จัดเป็นวิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มที่ละลายในน้ำ ในร่างกายกรดโฟลิกมี บทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเซลล์ต่าง ๆ และมีบทบาทในการสร้างสารคาร์บอน ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของดีเอ็นเอในการถ่ายทอดคำสั่งทางพันธุกรรมเพื่อสร้าง โปรตีนชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
เมื่อตั้งครรภ์..โฟลิกกลับลดลง
ภาย หลังการปฏิสนธิโดยการผสมของไข่จากแม่และสเปริ์มจากพ่อจะเกิดเป็นเซลล์ที่มี ความครบถ้วนสมบูรณ์ของสารพันธุกรรม หลังจากนั้นจากเซลล์ ๆ เดียวจะมีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการก่อรูปของอวัยวะระบบต่าง ๆ จนเป็นทารกที่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์จึงต้องมีการสร้างสายดีเอ็นเอและโปรตีนเพื่อเป็นองค์ประกอบของ เซลล์และเนื้อเยื่อของระบบต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้นจึงมีความต้องการกรดโฟลิกเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นจำนวนประมาณ 2 เท่าของคนปกติ
ซึ่งในขณะที่ร่างกายมีความต้องการกรดโฟลิกมากขึ้น กลับพบว่าในขณะตั้งครรภ์ลำไส้สามารถดูดซึมกรดโฟลิกจากอาหารได้ลดลงและมีการ สูญเสียกรดโฟลิกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้พบการขาดกรดโฟลิกในสตรีตั้งครรภ์ได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป
ใน ระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา วงการแพทย์และโภชนาการให้ความสนใจกรดโฟลิกนี้มาก เนื่องจากมีรายงานการศึกษาโดยการตรวจหาระดับกรดโฟลิกในเลือดของมารดาขณะตั้ง ครรภ์พบว่า มีมารดาที่มีระดับกรดโฟลิกใน เลือดต่ำได้ถึงร้อยละ 25 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของ ทารก เพราะในภาวะปกติ สมองและระบบประสาทจะเจริญและพัฒนาโดยเริ่มจากแผ่นเนื้อเยื่อระบบประสาทแล้ว ม้วนตัวเป็นท่อเรียกว่าหลอดประสาทซึ่งมีสองปลาย
ต่อมาปลาย หลอดประสาททั้งสองด้านจะปิดโดยปลายท่อด้านหัวจะพัฒนาเป็นส่วนของสมองส่วน ปลายด้านหางก็จะพัฒนาเป็นประสาทไขสันหลัง ในกรณีที่มารดามีระดับกรดโฟลิกใน เลือดต่ำ จะมีผลทำให้ปลายท่อหลอดประสาททั้ง 2 ด้านไม่ปิด จึงเกิดความพิการของสมองและประสาทไขสันหลัง ซึ่งมีความรุนแรงได้แตกต่างกันหลายระดับ
ทารกที่ขาด "โฟลิก"
ใน รายที่เป็นมากจะทำให้ทารกคลอดออกมาโดยไม่มีเนื้อสมอง จึงไม่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้และจะเสียชีวิตในเวลาไม่นานหลังคลอด ส่วนรายที่เป็นน้อยจะพบความพิการของประสาทไขสันหลัง โดยการเกิดความผิดปกติดังกล่าวมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย
ปัจจัยที่สำคัญได้แก่ การมีความผิดปกติที่บางตำแหน่งของยีนส์ ซึ่งซ่อนอยู่ในประชากรทั่วไปได้ระหว่างร้อยละ 5-25 ความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่มีผลต่อเมตาบอลิซึมของกรดโฟลิกในร่างกาย ทำให้มีสารโฮโมซิสทีนในเลือดสูงขึ้นและมีกรดโฟลิกต่ำลง
นอกจากนี้อาจมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับความร้อนในระยะเวลาสั้น ๆ จากการเป็นไข้ การประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรืออบซาวน่า รวมทั้งการได้รับยาป้องกันโรคลมชักบางชนิด ซึ่งมารดาที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ หากได้รับกรดโฟลิกเพิ่มจากอาหารปกติอีกวันละ 400 ไมโครกรัม ในรูปของยาหรืออาหารที่เสริมด้วยกรดโฟลิก จะสามารถป้องกันหรือลดการเกิดความพิการดังกล่าวได้
ทำไมต้องเสริมโฟลิกก่อนตั้งครรภ์
เนื่อง จากพัฒนาการของสมองและระบบประสาทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการปฏิสนธิ โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 3-4 หลังการปฏิสนธิ (วันที่ 21-28) ซึ่งปกติกว่าที่แม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โดยสังเกตจากประจำเดือนไม่มาตามกำหนด แล้วจึงไปพบแพทย์ก็ล่วงเข้าสัปดาห์ที่ 3 เป็นอย่างเร็วที่สุด การเริ่มรับประทานกรดโฟลิกในระยะนี้จึงไม่ทันการณ์
ดัง นั้นหากจะให้ได้ผลจริง ๆ จะต้องเริ่มรับประทานกรดโฟลิกก่อน การตั้งครรภ์ประมาณ 1-3 เดือนเป็นอย่างน้อย และถ้าจะให้ครอบคลุมถึงการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้าให้ครบถ้วน ด้วย จะต้องแนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธ์ทุกคนรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มทุกวันเป็น ประจำ
ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีอุบัติการของโรคสมองพิการ แต่กำเนิดมากประเทศหนึ่ง ได้รณรงค์ให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกคนรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มวันละ 400 ไมโครกรัมในรูปของยาเม็ดหรืออาหารที่เสริมด้วยกรดโฟลิกมา เป็นเวลาไม่น้อย กว่า 5 ปีแล้ว และพบว่าสามารถลดการเกิดความพิการของสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีผู้ที่ทำตามคำแนะนำอย่างครบถ้วนเพียงร้อยละ 30 ก็ตาม
นอก จากนี้ยังพบว่าการรับประทานกรดโฟลิกยัง ช่วยป้องกันหรือลดความพิการของอวัยวะ ระบบอื่น ๆ เช่น ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วย ทั้งช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะการแท้งบุตร และภาวะครรภ์เป็นพิษด้วย ความจริงกรดโฟลิกมีในอาหารที่เรารับประทานเป็นประจำ โดยพบมากใน ผักใบเขียว ถั่วลันเตา ตับ และผลไม้บางชนิด
ความต่างของ "โฟลิก" ในรูปอาหารกับรูปยาเม็ด
เนื่อง จากกรดโฟลิกเป็นวิตามินที่ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นเมื่อมีการปรุงอาหารโดยใช้ความร้อน จะทำให้มีการสูญเสียกรดโฟลิกได้ตั้งแต่ร้อยละ 50-95 นอกจากนี้กรดโฟลิกที่มีในอาหารจะถูกดูดซึมได้น้อยกว่า (ประมาณร้อยละ 50) เมื่อเทียบกับกรดโฟลิกที่รับประทานในรูปของยาเม็ด ดังนั้นแม้ผู้ที่ตั้งครรภ์จะได้รับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดการขาดกรดโฟลิกได้ ยิ่งผู้ที่มียีนส์ผิดปกติแฝงอยู่ยิ่งมีความจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้น เป็นพิเศษกว่าคนทั่วไป
สำหรับ ในบ้านเรา แม้จะพบความพิการทางสมองในทารกแรกเกิดและมีผู้ที่มียีนส์ผิดปกติแฝงอยู่ได้ แม้ไม่สูงเท่าประชากรในประเทศทางตะวันตก แต่ก็ควรรับประทานกรดโฟลิกเพิ่มวันละ 400 ไมโครกรัมเช่นเดียวกัน ซึ่งกรดโฟลิกชนิด เม็ดที่มีจำหน่ายมี 2 ขนาดคือ 1 มิลลิกรัม และ 5 มิลลิกรัม ซึ่งหากใช้ขนาด 1 มิลลิกรัม ก็รับประทานวันละครึ่งเม็ด แต่หากเป็นขนาด 5 มิลลิกรัม ให้รับประทานเพียงวันละ 1/10 เม็ด
- วิธีรับประทาน : ทานวันละ 1 เม็ดทุกวันค่ะ
ส่วนประกอบ
Dicalcium Phosphate, Cellulose ผักผักกรดสเตีย, Stearate แมกนีเซียมผัก, ซิลิก้า
ข้อมูลโภชนาการ |
ที่ให้บริการขนาด: 1 แท็บเล็ต |
จำนวนเงินต่อการให้บริการ |
* ค่า% ทุกวัน |
Acid800.0mcg โฟลิก |
200.0 |
|
สารอาหารและวิตามินที่คุณแม่ต้องการระหว่างตั้งครรภ์ |
1. |
กรดไขมัน
โอเมก้า 3
|
- การได้รับกรดไขมันโอเมก้า3 ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมองของทารก
- ในกรดไขมันโอเมก้า3 มีกรดไขมันที่ชื่อ DHA เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะด้านความจำและการเรียนรู้
- จากการศึกษายังพบอีกว่าการได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้ลูกน้อยฉลาดขึ้นด้วย
|
2. |
กรดโฟลิค
|
- กรดโฟลิคช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า Spina Bifida
- ช่วงเวลาที่เหมาะจะรับประทานคือช่วง 2-3 เดือนก่อนคลอด และระหว่างระยะที่ 1 ของการตั้งครรภ์ (12 สัปดาห์แรก)
|
3. |
ธาตุเหล็ก
และ
วิตามินซี
|
- ธาตุ เหล็กเป็นหนึ่งในสารอาหารหลัก ที่คุณแม่ต้องการตลอดเวลาในช่วงการตั้งครรภ์ เพราะเป็นสารสำคัญในการช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนไปกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกน้อยในครรภ์ใช้ในการพัฒนาสมอง
- หาก ขาดธาตุเหล็ก ลูกในครรภ์อาจจะไม่เป็นอะไร แต่ตัวคุณแม่เองจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึก เหนื่อย อ่อนเพลีย และไม่สบายตัว สูติแพทย์ของคุณแม่อาจแนะนำให้ทานธาตุเหล็กเป็นอาหารเสริม
- ธาตุเหล็กจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี หากคุณแม่รับประทานผักหรือผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงไปพร้อมกัน
|
วิตามินเสริมก่อนคลอด
คุณ แม่สามารถเลือกทานวิตามินรวมที่ผลิตสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์หรือผู้หญิงใกล้ คลอดโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารที่ครบทั้งห้าหมู่เหมาะสำหรับการตั้ง ครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยได้รวมเอากรดโฟลิค และธาตุเหล็กไว้แล้วด้วย แต่ต้องดูให้แน่ใจด้วยว่า คุณแม่ได้เลือกเอาวิตามินรวมที่ทำขึ้นสำหรับคนใกล้คลอดหรือคนท้องเท่านั้น ไม่ใช่วิตามินรวมธรรมดาทั่วไป ซึ่งจะมีวิตามินที่ควรหลีกเลี่ยงอยู่ในปริมาณสูง อย่างเช่น วิตามินเอ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หากรับประทานมากเกินไป |
Sundown Naturals Folic Acid 800 mcg Dietary Supplement Tablets
Folic acid is an essential B vitamin that supports the heart and cardiovascular health.* In addition, women who consume healthful diets with adequate folic acid may reduce their risk of having a child with birth defects of the brain or spinal cord. Folic acid intake should not exceed 250% of the Daily Value (1,000 mcg).
- Vegetarian formula
- No artificial color, flavor or sweetener, preservatives, sugar, starch, milk, lactose, soy, gluten, wheat, yeast, fish or sodium
*These statements have not been evaluated by the Food and Drug Administration. This product is not intended to diagnose, treat, cure or prevent any disease.
For adults, take one (1) tablet daily, preferably with a meal. As a reminder, discuss the supplements and medications you take with your health care providers. Store in a dry place and avoid excessive heat..
© 2011 Rexall Sundown, Inc.
Ingredients
Dicalcium Phosphate , Vegetable Cellulose , Vegetable Stearic Acid , Vegetable Magnesium Stearate , Silica
Nutrition Facts |
Serving Size : 1 Tablet |
Amount Per Serving |
% Daily value* |
Folic Acid800.0mcg |
200.0 |